Last updated: 2 ต.ค. 2562 | 6208 จำนวนผู้เข้าชม |
Policosanol
Policosanol เป็นส่วนผสมของแอลกอฮอล์หลักสายโซ่ยาวที่แยกได้จากขี้ผึ้งอ้อยส่วนประกอบหลักคือ octacosanol (ประมาณ 65%), triacosanol (ประมาณ 12%) และhexacosanol (7%)
จากการทำการศึกษาวิจัยทางการแพทย์มากกว่า 60 การวิจัย จนกระทั่งมีการตีพิมพ์ผลการวิจัยลงในวารสารทางการแพทย์ American Heart Journal ปี 2002 ถึงคุณประโยชน์ของสารสกัดโพลีโคซานอล (Policosanol) ในการลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ คือ ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายแม้ใช้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาลดไขมันในเลือด ส่งผลให้สารสกัดจากธรรมชาติ “โพลีโคซานอล (Policosanol)” เป็นรู้จักและยอมรับกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกในขณะนี้
คุณค่าของสารสกัด”โพลีโคซานอล (Policosanol)” ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
การศึกษาวิจัยทางการแพทย์ของสารสกัดโพลีโคซานอล(Policosanol)
ศึกษากับผู้ที่มีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลสูง มากกว่า 3,000 คน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าให้ประสิทธิภาพที่ดีในการลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลชนิดต่างๆได้ดี ดังนี้
1. ลดไขมันโคเลสเตอรอลอย่างเป็นธรรมชาติ
ช่วยลดระดับของไขมันโคเลสเตอรอลชนิดรวม (TC)และไขมันโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-Cholesterol) โดยปรับสมดุลการสร้างไขมันโคเลสเตอรอล และเสริมการทำงานของตับในการเผาผลาญไขมัน ส่งผลให้ระดับของไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง
2. ช่วยสร้างไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือด
ช่วยบำรุงตับให้สร้างไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) มากขึ้น ซึ่งโดยปกติไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) จะมีหน้าที่นำพาไขมันที่สะสมและอุดตันตามผนังหลอดเลือดกลับไปทำลายที่ตับ ซึ่งการเพิ่มระดับไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี(HDL-Cholesterol) ในกระแสเลือด เพียง 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ถึง 3-4%
3. ลดความเสี่ยงภาวะการอุดตันของเกล็ดเลือดได้ถึง 50%
ช่วยปรับลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันภาวะหัวใจ และสมองขาดเลือดเฉียบพลัน
ภาพการอุดตันของเกล็ดเลือดทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
4. ป้องกันภาวะความหนาตัวของผนังหลอดเลือด
เนื่องจากคุณสมบัติของการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดโพลีโคซานอล (Policosanol) จึงช่วยลดขบวนการเกิดการจับตัวเป็นก้อนของไขมันโคเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด อันเป็นสาเหตุให้เกิดความเสื่อมและขาดความยืดหยุ่นของหลอดเลือด จนเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases)ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เช่น บริเวณขา เป็นต้น
ภาพแสดงภาวะความหนาตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด
5. ฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของหัวใจและตับ
ช่วยลดการสะสมเกาะตัวของไขมันที่ตับ หัวใจ และเนื้อเยื่อไขมัน จนทำให้เกิดความผิดปกติและฟื้นฟูสมรรถภาพของตับที่เสื่อมโทรม อันเกิดจากการรับประทานยาลดไขมันในเลือดต่อเนื่องเป็นเวลานาน
สำหรับกรณีผู้ที่มีปัญหาระดับไขมันโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงทั้งคู่ ควรเสริมด้วยน้ำมันปลา (โอเมก้า-3) ควบคู่กับสารสกัดโพลีโคซานอลจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการลดระดับของไขมันทั้งโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ส่งผลในการลดความเสี่ยงของการโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
1. Mas R et al. Effect of policosanol in patients with type II hypercholesterolemia and additional coronary risk factors. Clinical pharmacology & therapeutics 1999;65(4); 439-447
2. Pons P et al. Effects of successive dose increases of policosanol on the lipid profile of patients with type II hypercholesterolemia and tolerability to treatment. Int J Clin Pharm Res 1994;XIV(1);27-33
3. Zardoya R et al. Effects of policosanol on hypercholesterolemic patients with abnormal serum biochemical indicators of hepatic function. Current therapeutic research 1996;57(7);568-577
4. Castano G et al. One-year study of the efficacy and safety of policosanol (5 mg twice daily) in the treatment of type II hypercholesterolemia. Current therapeutic research 1995;56(3); 296-304
5. Mark J. Policosanol: A New Treatment for Cardiovascular Disease? Alternative Medicine Review 2002; 7(3) ;203-217
6. Castano G et al. Effects of Addition of Policosanol to Omega-3 Fatty Acid Therapy on the Lipid Profile of Patients with Type II Hypercholesterolaemia. Drugs R D 2005;6(4):207-219
7. www.plicosanol.com/monograph.htm
8. www.nutraceuticalsworld.com
9. www.ram-hosp.co.th
โรคหลอดเลือดหัวใจ มัจุราชเงียบคนยุคโลกาภิวัฒน์
เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตประชากรทั่วโลกและคนไทยเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดพบว่าในแต่ละปีคนไทยประมาณ 60,000-100,000 คน เสียชีวิตอย่างกะทันหันจากอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และคนไทยอีกกว่า 39 ล้านคน กำลังเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจในขณะนี้ ทำให้เสียค่ารักษาพยาบาล สูญเสียความสามารถในการทำงาน และร่างกายอาจเกิดความเสื่อมโทรมไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้เหมือนเดิม
(ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข)
12 พ.ย. 2562
12 พ.ย. 2562
6 พ.ย. 2565
12 พ.ย. 2562