Last updated: 3 ต.ค. 2562 | 4413 จำนวนผู้เข้าชม |
1.เห็ดฟาง
มีวิตามินซี จำนวนมาก(ไม่ควรรับประทานสด)ลดการติดเชื้อ สมานแผล ลักปิดลักเปิด โรคเหงือก ลดอาการผื่นคัน มีสาร volvatioxin ชะลอและยับยั้งเซลล์มะเร็ง บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้ช้ำใน บำรุงตับ
2.เห็ดหูหนูต่าง ๆ
โรคริดสีดวง บำรุงกระเพาะ คุมการทำงานของสมอง หัวใจ ปอด ตับ อาการเส้นโลหิตฝอยแตก ช่วยการไหลเวียนของโลหิต กระตุ้นการทำงานของเลือดให้เป็นปกติ บรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น การปวดฟัน บรรเทาอาการตกเลือด ริดสีดวง บรรเทาการเป็นตะคิว อาการของบิด ยับยั้งเนื้อร้ายหรือมะเร็ง
3.เห็ดหูหนูขาว
บำรุงน้ำอสุจิ ไต ตับ ร้อนใน ปอด หลั่งน้ำลาย ย่อยอาหารและบำรุงกระเพาะ หยุดอาการไอ ลดไข้ ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ระบบเลือด หัวใจ และบำรุงสมอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง อาการไอ ขับเสมหะและโรคหอบหืด อาการไอแห้ง ๆ แผลเรื้อรังในปอด หลอดลม บำรุงสุขภาพมารดาหลังคลอด รอบเดือนของสตรี ช่วยการระบาย รักษาโรคบิด ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
4.เห็ดตระกูลนางรม
บำบัดอาการปวดเอว ปวดขา ชาตามแขนขา ขยายหลอดเลือด และอาการเอ็นยึด ยังยั้งเซลล์มะเร็ง กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ปรับความดันโลหิตและความเข้มข้นของไขมันในเลือด ยับยั้งการเติบโตของเนื้อร้าย ลดอาการอักเสบ ลดการก่อโรคของจุลินทรีย์
5.เห็ดนางรมหัว
โรคปวดหัว ไข้ หอบหืด ความดันโลหิตสูง ประสาทไม่ปกติ ปวดท้อง และท้องผูก
6.เห็ดกระดุมหรือแชมปิญญอง
ช่วยในการย่อยอาหาร ความดันโลหิตสูง และคลายความตื่นตระหนก แม่นมมีน้ำนมมากขึ้น ยังยั้งเซลล์มะเร็ง และการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้
7.เห็ดเข็มเงินเข็มทอง
รักษาโรคตับ กระเพาะและลำไส้อักเสบเรื้อรังได้สาร flammulin ยับยั้งเซลล์มะเร็งของเยื่อบุช่องท้อง
8.เห็ดหอม
ป้องกันหลังค่อมและกระดูกอ่อนในเด็กทารก มีprovitamin(wegosterol)เปลี่ยนไปเป็นวิตามินดีได้ และไม่ค่อยจะมีในผัก รักษาอาการหวัด ป้องกันการอักเสบของผิวหนัง การเกิดอาการตับแข็งและหลอดเลือดแข็งตัว ลดภาวะความดันโลหิต คลอเลสเตอรอล สารสกัดโดยน้ำร้อนคือเลนติแนน
9.เห็ดหัวลิง
เพิ่มความสามารถภูมิคุ้มกัน และยับยั้งเซลล์มะเร็ง รักษาโรคแผลเรื้อรัง และอักเสบในกระเพาะ ในลำไส้ส่วนต้น มะเร็งในกระเพาะและในหลอดอาหาร น้ำต้มสกัดการย่อยอาหารดีขึ้น เห็ดหัวลิงแห้งบำบัดอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้าที่เกิดจากการวิตกกังวล สาร erinaines E.F และ G กระตุ้นส่วนประกอบของการเติบโตของเซลล์ประสาท
10.เห็ดหลินจือ
รักษา 3 ระบบหลัก ทางเดินอาหาร (โรคกระเพาะ โรคแผลในลำไส้ ท้องผูก อาหารไม่ย่อย ริดสีดวง) หายใจ (บรรเทาอาการ ไอ ลดเสมหะ ปอดอักเสบ ภูมิแพ้) ไหลเวียนโลหิต (โรคความดันโลหิตสูงและต่ำ เบาหวาน เส้นโลหิตตึงตัว อาการปวดหัวข้างเดียว ระดูไม่ปกติ ลดคลอเลสเตอรอลในเลือด) เพิ่มภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการไขข้อต่าง ๆ ต่อต้านมะเร็งและยืดชีวิตผู้ป่วยเอดส์
11.เห็ดยานาหงิ
ขับปัสสาวะ หดหู่ห่อเหี่ยว ลดหงุดหงิด ม้ามแข็งแรง และหยุดการถ่ายท้อง
12เห็ดตีนแรดหรือเห็ดจั่น
ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ดูแลระบบการไหลเวียนของโลหิต ลดอาการขับเหงื่อที่มากเกินไปจากการใช้ยา ฟื้นฟูพลังบรรเทาอาการกระเพาะอักเสบ
13.เห็ดในกลุ่มเห็ดขอนขาวเห็ดลมหรือเห็ดกระด้าง
ยับยั้งการเติบโตเซลล์มะเร็ง กรด eburicoic ที่สามารถใช้สังเคราะห์สารประกอบเสตรียลอยด์ ที่มีบทบาทในการควบคุมร่างกายคนเรา
14.เห็ดแครง
แก้ระดูขาวหรือตกขาว ยับยั้งอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
15.เห็ดถั่วหรือเห็ดหมึก เห็ดขี้ม้า เห็ดโคนน้อย
ย่อยอาหารและลดเสมหะ พอกทาบรรเทาอาการปวด ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
16.เห็ดตับเต่าดำ เห็ดห้า
บรรเทาอาการปวดชาตามแขนขา ตามกระดูก และเส้นเอ็น อาการระดูขาวหรือมุตกิดได้ หยุดการเติบโตและต่อต้านเนื้อร้าย
17.เห็ดชะโงก
หยุดยั้งการเติบโตของเนื้อร้าย
18.เห็ดขมิ้น
ป้องกันโรคตาอักเสบอย่างรุนแรง บอดยามค่ำคืน ผิวหนังแห้ง ช่วยให้ผิวหนังเปล่งปลั่ง เยื่อบุเมือกในการหลั่งสารต่าง ๆ อย่างปกติ ยับยั้งการติดโรคของทางเดินหายใจ ยับยั้งการเติบโตของเนื้อร้าย
19.เห็ดหล่มหรือเห็ดไคล
รักษาโรคตาเพลีย ตาอ่อนล้า ขับความร้อนออกจากตับ กระจายพลังงานส่วนเกิน ระบบการไหลเวียนต่าง ๆ ของสตรี ระวังไม่กินมากจนเกินไป ชาวจีนกินเห็ดนี้ร่วมกับขิง ยับยั้งการเติบโตของเนื้อร้าย
20.เห็ดแดง
ยับยั้งเนื้อร้าย บรรเทาอาการปวดขา ปวดเอ็นและกระดูก
21.เห็ดน้ำนม
มีสารต่อต้านและยับยั้งการเติบโตของเนื้อร้าย
22.เห็ดโคน เห็ดจอมปลวก
บำรุงสมอง ช่วยท้องและกระเพาะแข็งแรง จิตใจโปร่งใส รักษาโรคริดสีดวงทวาร บำรุงร่างกาย ทำให้แช่มชื่น กระจายโลหิต
23.เห็ดถั่งเช่า
บำรุงร่างกาย แก้อาการอ่อนเพลีย โลหิตจาง แก้ไอละลายเสมหะ หอบหืด ไอเรื้อรัง โรคจู๋และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เข่าอ่อน เอวอ่อน เหมาะสำหรับบำรุงกำลังหลังการฟื้นไข้ ขยายหลอดเลือด สารสกัดที่เป็นผลึกสีเหลืองอ่อน สามารถยับยั้งแบคทีเรียได้หลายชนิด
12 พ.ย. 2562
6 พ.ย. 2565
12 พ.ย. 2562
12 พ.ย. 2562