Last updated: 1 ต.ค. 2562 | 8284 จำนวนผู้เข้าชม |
แคนนาบินอยด์นั้นมีปฎิกิริยาอย่างไรกับร่างกาย
ร่างกายของมนุษย์มีต่อมรับแคนนาบินอยด์อยู่ในระบบประสาทโดยธรรมชาติคือ ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ Endocannabinoid System (ECS) ซึ่งเป็นระบบทางสรีรวิทยาที่ควบคุมการทำงานและรักษาความสมดุลของร่างกาย ECS มีหน้าที่ช่วยการทำงานของเซลล์ต่างๆในระบบพลังงาน ระบบเผาพลาญ การลำเลียงสารอาหารและการเก็บรักษาพลังงาน โดยมีต่อมรับกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายคือ CB1 และ CB2
CB1 - อยู่ในสมองและระบบประสาทส่วนกลาง (ฮิปโปแคมปัส - ทำหน้าที่หลักในเรื่องความจำ, ซีรีเบลลั่ม - ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและการทรงตัว)
CB2 - อยู่ในระบบภูมิคุ้มกัน (ในเนื้อเยื่อของม้าม) และในระบบประสาทรอบนอก
"การจับของเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ที่ CB1ในระบบประสาทจะมีบทบาทต่อการควบคุมความเจ็บปวด ความจําและการเคลื่อนไหว และการควบคุมกระบวนการเผาผลาญของไขมันและกลูโคส เพื่อรักษาสมดุลของพลังงานในร่างกาย" - วิมล พันธุเวทย, สาขาวิชาชีวเภสัชศาสตร คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาท หัวใจและระบบภูมิคุ้มกัน มันทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ แคนนาบินอยด์ เรามักจะรับรู้ความรู้สึกเจ็บหรือหิว ควบคุมการเคลื่นไหวและการตอบสนอง ระบบภูมิคุ้มกัน และการตอบสนองต่อการอักเสบในร่างกาย
บางคนอาจสงสัย ว่าในเมื่อร่างกายเรามีสารตัวนี้อยู่แล้วทำไมจึงต้องหามาเพิ่ม? เอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ผลิตขึ้นเองในร่างกายนั้นออกมาในปริมาณที่น้อยและมี half-life ที่สั้นมาก
1.แคนนาบินอยด์ในสิ่งมีชีวิต (Endocannabinoid) : เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พบได้ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบาง
ชนิด สารสำคัญสองตัวคือ Anandamide และ 2-AG อะนันดาไมด์ (Anandamide ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตของคำว่า ananda แปลว่า ความสุขสำราญ) หน้าที่ของมันก็จะทำการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายและลดความเจ็บปวด 2-AG ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจและปรับความดันเลือดในร่างกาย
2.แคนนาบินอยด์ในธรรมชาติ (Phytocannabinoid) : จะพบได้ในต้นแคนนาบิส
ใน ต้นแคนนาบิสหรือต้นกัญชานั้นมีสารต่างๆมากกว่า 400 ชนิด ปัจจุบันมีการค้นพบสารแคนนาบินอยด์ในกัญชากว่า 85 สาร โดยสารที่มีคุณลักษณะโดดเด่นอยู่ 2 ชนิดหลักๆคือ เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC) และ แคนนาบิไดออล Canabidiol (CBD)
THC และ CBD นั้นเป็นส่วนหนึ่งของสารแคนนาบินอยด์ที่อยู่ในต้นแคนนาบิส และหลังจากนั้นก็มีการค้นพบสารแคนนาบินอยด์อื่นๆเช่น THCV THCA CBN CBL CBC ฯลฯ ซึ่งเริ่มมีการค้นพบมากขึ้น นักวิจัยจึงสามารถมุ่งหน้าทำการทดลองกับต้นพืชมหัศจรรย์นี้ได้THC นั้นคือการบอกถึงค่าวัดความแรงหรือ Potency ของกัญชาสายพันธุ์นั้น แต่หลักๆแล้วทุกคนมักจะได้ยินถึงคำว่า THC เป็นเพราะว่ามันได้ถูกค้นพบเป็นสารที่ทำให้เกิดปฎิกิริยาในร่างกายเป็นตัว แรก (เป็นสารสำคัญที่ทุกคนต้องการเพื่อให้เมา) แต่นักเคมีก็มาค้นพบทีหลังว่ามันไม่ได้เป็นสารที่เด่นในกัญชาตัวเดียว แต่ CBD มีส่วนทำงานร่วมไปด้วยกันกับ THC และมีประโยชน์ไม่น้อยกว่ากันเลย
2.1 เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol) หรือ THC เป็นสารตัวหลักที่ออกฤทธิ์ต่อประสาท (psychoactive)หากเปรียบแคนนาบินอยด์ในต้นกัญชา THC แน่นอนที่สุดว่า THC นั้นมีชื่อเสียงได้เพราะว่ามันเป็นสารที่ส่งผลกระทบต่อประสาทและสมองซึ่งทำให้เรารู้สึก’เมา'นั่นเอง THC นั้นเลียนแบบการทำงานของอะนันดาไมด์ (แคนนาบินอยด์ในสิ่งมีชีวิต) โดยการเชื่อมกับเซลล์ประสาทในสมอง CB1 และทำให้เกิดความเมาหรือ High ที่มาจากการสูบกัญชา เช่นเดียวกับอาหารหิวหรือ Munchies ที่ได้หลังจากการสูบเพราะมีการกระตุ้นในสมองในส่วนที่สั่งการหิวของร่างกาย อีกทั้ง THC มีการการกระทบส่วนของสมองที่ใช้จำจึงอธิบายได้ว่าทำไมเราถึงขี้หลงขี้ลืมเวลาสูบกัญชา แต่มันไม่ใช่ว่าจะกลายเป็นข้อเสียอย่างเดียว เพราะทางการแพทย์เชื่อว่ามันเป็นตัวยาสำคัญที่จะสามรถช่วยคนที่เป็นโรคเครียดหลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ร้ายแรง Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD) เช่นเหล่าทหารที่กลับมาจากการรบ มักเกิดอาการหลอนและนอนไม่หลับ
2.2 แคนนาบิไดออล (Cannabidiol) หรือ CBD เป็นสารตัวสำคัญอีกตัวที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ต่างจาก THC ตรงที่ไม่มีสารออกฤทธิ์ต่อประสาท (non-psychoactive compound) นับ เป็นสารสำคัญอันดับที่สองในกัญชา เนื่องจากคุณสมบัติและประโยชน์ของมันที่ช่วยลดการอักเสบ (anti-flammatory) และยับยั้งการผลิตสารที่ทำให้เกิดอาการปวด อาการวิตกกังวล และเครียด มีการออกฤทธิ์ด้านการระงับประสาท (Sedative) เหมาะกับเป็นยาคลายกังวลและยานอนหลับได้เป็นอย่างดี พร้อมกับออกฤทธิ์ลดอาการชัก (anticonvulsive) อีกทั้งมีฤทธิ์เป็นยาต้านโรคจิต (anti-psychotic) ซึ่งแพทย์บอกว่าอาจจะเป็นตัวยาที่จะมาช่วยผู้ป่วยโรคที่มีความผิดปกติของ ความคิดประเภทเรื้อรัง (Schizophrenia) และที่สำคัญคือ สามารถสกัดเพื่อใช้ด้านการแพทย์โดยที่ไม่ออกฤทธิ์เมาให้กับผู้ป่วยที่เป็น เด็กและผู้ชราได้ อีกทั้งช่วยอาการคลื่นไส้อาเจียน และออกฤทธิ์ยับยั้งการทำลายของเซลล์ประสาทในสมอง (Neurodegenerative) โรคที่เกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาท เช่นโรคต่างๆของ พาร์กินสันและอัลไซเมอร์ อีกทั้งมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเซลล์ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง พร้อมกับทำให้เซลล์มะเร็ง(เซลล์ที่ทำงานผิดปกติ)ทำลายตัวเอง พร้อมกับช่วยดูแลเซลล์สมองและปกป้องระบบประสาท และด้วยความสนับสนุน ของ CBD การออกฤทธิ์ต่างๆของ THC จะมีผลและประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมกับมีฤทธิ์ทางด้านการป้องกันเซลล์สมอง Neuroprotective และทำลายเซลล์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเช่นมะเร็ง และทำการปกป้องเซลล์ที่แข็งแรง
การพัฒนากัญชาเพื่อใช้ในทางการแพทย์
อาการเจ็บป่วยหลายๆ แบบนั้นสามารถบรรเทาได้ด้วยทั้ง THC และ CBDโดย แบ่งเป็น 3 หมวดหมู่ให้เข้าใจง่ายๆ ได้แก่
1. อาการที่เฉพาะสาร THC ช่วยได้
เช่น อาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อกระตุก
2. อาการที่เฉพาะ CBD ช่วยบรรเท่าได้
ได้แก่ ไมเกรน ซึมเศร้า การอักเสบของกล้ามเนื้อ ต้อหิน ลมชัก และอาการทางจิต
3. อาการที่สารทั้ง 2 ช่วยได้เหมือนกัน เช่น ความเจ็บป่วย ความวิตกกังวล
สรุปประเด็น THC และ CBD
เนื่องจากในกัญชา จะมี THC ประกอบอยู่ถึง 12% และมี CBD เพียงไม่ถึง 0.30% เท่านั้น
การสูบโดยตรงเพื่อรักษาโรคที่ CBD ทำได้นั้น ล้วนแต่ทำให้ร่างกายได้รับแต่ THC มากเกินไป
การจะใช้งาน CBD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องอาศัยการสกัดมันออกมา นั่นหมายถึงการนำกัญชาเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรมแปรรูปเสียก่อน
สรุป
- หน้าที่ของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ในร่างกายมนุษย์ทำหน้าที่ควบคุม- ให้ร่างกายทำงานปกติ
- แคนนาบินอยด์ คือสารที่มีในต้นกัญชาและร่างกายมนุษย์โดยธรรมชาติ: อะนันดาไมด์และ 2-AG คือแคนนาบินอยด์ที่
มนุษย์สร้างขึ้น ส่วนพวก THC และ CBD คือแคนนาบินอยด์ที่กัญชาสร้างขึ้น
-ต่อมรับแคนนาบินอยด์นั้นเรียกว่า CB1 และ CB2
-สารแคนนาบินอยด์จากกัญชา กระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาทและช่วยเซลล์ที่ผิดปกติหรือไม่แข็งแรงร่างกายของมนุษย์ทุกคนมีต่อมรับแคนนาบินอยด์อยู่ในระบบประสาทโดยธรรมชาติคือ ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ Endocannabinoid System (ECS) ซึ่งเป็นระบบทางสรีรวิทยาที่ควบคุมการทำงานและรักษาความสมดุลของร่างกาย ECS มีหน้าที่ช่วยการทำงานของเซลล์ต่างๆในระบบพลังงาน ระบบเผาพลาญ การลำเลียงสารอาหารและการเก็บรักษาพลังงาน โดยมีต่อมรับกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายคือ CB1 และ CB2
CB1 - อยู่ในสมองและระบบประสาทส่วนกลาง (ฮิปโปแคมปัส - ทำหน้าที่หลักในเรื่องความจำ, ซีรีเบลลั่ม - ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและการทรงตัว)
CB2 - อยู่ในระบบภูมิคุ้มกัน (ในเนื้อเยื่อของม้าม) และในระบบประสาทรอบนอกเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC)
แคนนาบิไดออล (CBD)
1. กัญชาฆ่ามะเร็ง
ผลการศึกษาทางการแพทย์ค้นพบว่าสาร THC (Tetrahydrocannabinol) จากกัญชาไม่เพียงแต่ช่วยชะลอกระบวนการเกิดเนื้อร้าย แต่ยังสามารถช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งและทำให้เนื้องอกหดตัวลง เนื่องจากสาร THC (Tetrahydrocannabinol) และสาร CBD (Cannabidiol) จากกัญชาสามารถช่วยยับยั้งและฆ่าเซลล์มะเร็งไม่ให้เกิดการแพร่กระจายตัว
2. ป้องกันโรคอัลไซเมอร์
สาร THC ช่วยหยุดกระบวนการเกิดโรคอัลไซเมอร์และสามารถยับยั้งสาเหตุของโรคได้ ซึ่งโรคสมองเสื่อมเกิดจากความผิดปกติของเซลล์สมองถูกทำลาย ซึ่งมีหลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย เกิดจากพันธุกรรม โรคหลอดเลือดสมอง โรคการติดเชื้อของสมอง เป็นต้น ซึ่งผลการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ พบว่าสาร THC สามารถป้องกันและรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้
3. โรคต้อหิน
โรคต้อหินเกิดจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของความดันในตาและทำลายเส้นประสาทตาในที่สุด หนึ่งใน "การรักษาทางการแพทย์ที่ดีที่สุด" และเก่าแก่ที่สุดพบว่า กัญชาสามารถต่อต้านและยับยั้งการเกิดโรคต้อหินได้ โดยอ้างอิงจากสถาบันดวงตาแห่งชาติ: ซึ่งผลการศึกษาก่อนปี 1970 แสดงให้เห็นว่าการสูบบุหรี่กัญชาช่วยลดแรงดันในสายตาของผู้ป่วยโรคต้อหินได้
4. โรคข้ออักเสบ
Sativex (ชื่อทางการค้า ของยา Nabiximol) ซึ่งสกัดมาจากสารสังเคราะห์ของกัญชา ซึ่ง Sativex ได้ถูกนำมาใช้รักษาโรคไขข้ออักเสบในโรงพยาบาลบางแห่ง ทำให้การอักเสบและความเจ็บปวดในโรคข้ออักเสบของผู้ป่วยลดลง
5. โรคลมชัก
ยาเอพิไดโอเล็กซ์ เป็นชื่อทางการค้าของน้ำมันหอมระเหยสกัดจากกัญชา ได้รับการทดสอบประสิทธิภาพและผลข้างเคียงกับผู้ป่วยเด็กอายุตั้งแต่ 2-5 ปี ประมาณ 500 คนที่เป็นโรคลมชักรุนแรง 2 ชนิด ได้แก่ ดราเว็ต ซินโดรม และเลนน็อกซ์-กัสโตต์ พบว่าตัวยาดังกล่าวปลอดภัยและช่วยบรรเทาอาการโรคลมชักได้ผล ซึ่งสารแคนนาบิไดอัลเป็น 1 ในสาร 80 ชนิดที่พบในกัญชา ซึ่งไม่ทำให้เกิดอาการมึนเมาหรือเสพติด
6. โรคเส้นเลือดสมองอุดตัน
ผลจากการวิจัยพบว่า สาร THC จากกัญชามีผลช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด ซึ่งการค้นพบนี้จะนำไปสู่การคิดค้นยาชนิดใหม่ ที่ใช้เพื่อป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองตีบ รวมถึงโรคเส้นเลือดสมองตีบเฉียบพลัน
7. โรคพาร์กินสัน
พาร์กินสัน เป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยจะมีอาการมือสั่น มีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ และเคลื่อนไหวลำบาก ซึ่งผลจากการรักษาผู้ป่วยด้วยกัญชาในประเทศอิสราเอล ผลการรักษาพบว่าผู้ป่วยมีอาการเคลื่อนไหวดีขึ้น รวมถึงอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อลดลง
8. โรคลำไส้อักเสบ
กัญชาไม่เพียงแต่รักษาโรคลำไส้อักเสบได้ แต่กัญชายังสามารถรักษาโรคกระเพาะ รักษาโรคระบบทางเดินอาหาร รักษาอาการคลื่นไส้ นอกจากนี้กัญชายังสามารถช่วยควบคุมแบคทีเรียในร่างกายได้อีกด้วย
9. โรคลมชักในเด็ก
โรคลมชักในเด็ก เป็นโรคที่ทำลายและคร่าชีวิตเด็กเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้โรคลมชักยังส่งผลกระทบต่อเด็กเป็นอย่างมาก เนื่องจากตัวโรคจะทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเด็ก ซึ่ง ดร. ซานเจย์คุปต้า หัวหน้าแพทย์ เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักด้วยกัญชา ซึ่งผลการรักษาสามารถช่วยลดอาการชักในเด็กจาก 300 ครั้งต่อสัปดาห์ เหลือเพียง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยมีรายงานข่าวจาก CNN
10. ไวรัสตับอักเสบซี
ผลข้างเคียงของการรักษาไวรัสตับอักเสบซีในผู้ป่วยบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยต้องหยุดการรักษา โดยปกติแล้วผู้ป่วยจะมีอาการปวดเมื่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อ่อนเพลียและซึมเศร้า ผลการรักษาผู้ป่วยด้วยกัญชา ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นถึง 86% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้กัญชาในการรักษาพบว่ามีอาการดีขึ้นเพียง 29% เท่านั้น นอกจากนี้สารสกัดจากกัญชายังเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ช่วยลดปริมาณไวรัสได้ถึง 54% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้กัญชา พบว่าปริมาณไวรัสลงเพียง 8% เท่านั้น
12 พ.ย. 2562
12 พ.ย. 2562
6 พ.ย. 2565
12 พ.ย. 2562