Last updated: 1 ต.ค. 2562 | 11084 จำนวนผู้เข้าชม |
1. สกัดจากเกล็ดปลาทะเลน้ำลึก โดยส่วนใหญ่คอลลาเจนที่ขายอยู่ในท้องตลาด แม้กระทั่งในประเทศญี่ปุ่นจะเป็นคอลลาเจนที่
ได้จากวัวเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีราคาถูก, วัตถุดิบหาง่าย และยังมีฮาลาลด้วย และที่เริ่มนิยมแพร่หลายต่อมาคือคอลลาเจนที่สกัดจากหนังปลา ประเทศในแถบยุโรปจะมีการผลิตคอลลาเจนที่ได้จากหนังปลาอย่างแพร่หลายเพราะโดยส่วนใหญ่คนยุโรปจะไม่นิยมรับประทานหนังปลา จึงทำให้มีหนังปลาเป็นจำนวนมากเหมาะที่จะมาแปรรูปเป็นคอลลาเจน แต่ข้อเสียของคอลลาเจนที่ได้จากหนังปลา คือ หนังปลาจะมีสีคล้ำ และมีไขมันมาก จึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีช่วยในการฟอกสี และ ล้างไขมัน
ปัจจุบันคอลลาเจนที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลกคือ คอลลาเจนที่ได้จากเกล็ดปลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกล็ดปลาที่ได้จากปลาทะเลน้ำลึก แต่ปัจจุบันปริมาณปลาในท้องทะเลก็มีจำกัด ประกอบกับการต้องการบริโภคคอลลาเจนที่ได้จากเกล็ดปลาทะเล สูงขึ้นโดยเฉพาะประเทศที่นิยมบริโภคคอลลาเจนอย่างประเทศญี่ปุ่น จึงทำให้เกล็ดปลาทะเลมีจำนวนไม่พอต่อความต้องการ จึงมีผู้นำเอาเกล็ดปลาน้ำจืดหรือปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลานิล, ปลาทับทิม กลุ่มนี้จะเรียกว่า Tilapia (ปลาเกล็ดดำ ต้องฟอกสีด้วยเช่นกัน) และยังมีจำพวกปลายี่สก, ปลาตะเพียน อีกด้วย ซึ่งถ้านำมาเปรียบเทียบกับคอลลาเจนที่ได้จากปลาทะเลแล้ว ยังมีข้อด้อยกว่าเกล็ดปลาที่ได้จากปลาทะเลน้ำลึกอยู่มาก
2. มารีน คอลลาเจน เปปไทด์ เป็นโมเลกุลที่เป็นไดเปปไทด์ ที่มีขนาดเล็ก (500 ดาลตัน) มีความคงตัวสูง ดูดซึมดี จึงเห็นผลเร็ว สกัดจากเกล็ดปลา จากมหาสมุทรอินเดีย 100% ( ใช้เฉพาะปลาเกล็ดใส )
ไม่ใช้หนังปลา หรือเกล็ดปลาที่จากแม่น้ำ ทะเลสาบ หรือจากฟาร์มเลี้ยง เพราะฉะนั้น ปลาตามทะเลธรรมชาติจึงปลอดภัยปราศจากเคมีที่อยู่ในอาหารสัตว์ จึงปลอดภัยและเป็นธรรมชาติ 100% แม้จะบริโภคในปริมาณมาก
3. เราใช้เอนไซม์ที่ได้จาก พืช ทั้งจากสัปะรด (Bromelain) และมะละกอ (Papain) เท่านั้นในการสกัดเอาคอลลาเจน เพราะฉะนั้นคอลลาเจนของเราจึงได้ กรดอะมิโนหลายชนิดและได้ปริมาณ คอลลาเจน type II (คอลลาเจนสำหรับข้อต่อ) มากกว่าคอลลาเจนที่สกัดจากกรดและเอนไซม์อื่น
4. ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ตลอดกระบวนการผลิต ดังที่กล่าวในข้อ 1 การผลิตคอลลาเจนจากสัตว์บก หรือหนังปลา จำเป็นต้องใช้สารเคมีจำนวนมากในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นใช้เคมีในการฟอกขาว การใช้กรดอย่างแรงในการล้างและสกัดเพื่อที่จะให้ได้คอลลาเจนที่มีผงสีขาว และไม่มีกลิ่นพึงประสงค์ ส่วนผู้ผลิตคอลลาเจนจากเกล็ดปลาก็นิยมล้างเกล็ดปลาด้วยกรด เพราะจะทำให้ได้ปริมาณคอลลาเจนที่เพิ่มขึ้น เพราะการล้างเกล็ดด้วยกรดจะทำแคลเซียมที่เป็นโครงสร้างหลักของเกล็ดปลาหลุดออกไปในระหว่างการล้าง เมื่อนำไปสกัดก็จะทำได้ง่ายและได้คอลลาเจนในปริมาณมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ทำลายกรดอะมิโนดี ๆ หลาย ๆ ตัวที่อยู่บนผิวของเกล็ดปลาให้หลุดออกไปพร้อมน้ำล้างเหลือเพียงแต่โปรตีน และกรดอะมิโนบางตัวเท่านั้น
มารีน คอลลาเจน เปปไทด์ จะล้างเพียงน้ำเปล่าเท่านั้น แม้จะได้ปริมาณคอลลาเจนที่น้อยกว่าการล้างด้วยกรดถึงครึ่งต่อครึ่ง แต่เราจะได้กรดอะมิโนที่สำคัญและมีประโยขน์ต่อร่างกายสูงที่สุด วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าคอลลาเจนตัวไหนล้างด้วยเคมี หรือ น้ำเปล่า เพียงแต่นำผงคอลลาเจนไปละลายน้ำแล้วหาค่าความเป็นกรดด่าง ถ้า pH ต่ำกว่า 7 แสดงว่าผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้กรดล้างเกล็ด หรือแม้กระทั่งใช้กรดช่วยสกัด (กรด hydrocholric acid มีราคาถูกว่าเอนไซม์มาก จึงมีผู้ผลิตบางรายนิยมเอามาสกัดเกล็ดปลาก่อนและจึงค่อยใช้เอนไซม์ เพื่อลดต้นทุน) และถ้า pH สูงกว่า 7 ก็แสดงว่าใช้ด่าง (Hydrogenperroxide) ในกระบวนการผลิต แต่การล้างด้วยด่างไม่เป็นที่นิยมเพราะจะทำให้คอลลาเจนมีกลิ่นเหม็น ถึงแม้ว่าผู้ผลิตที่ใช้เคมีในการล้างเกล็ดปลาจะพยายามล้างน้ำเปล่าเพิ่มอีกหลายครั้งก็ไม่สามารถทำให้ pH เป็น 7 หรือเป็นกลางได้
5. การทำระเหยด้วยอุณหภูมิต่ำ โดยปกติแล้วการผลิตผงคอลลาเจนจะต้องทำให้คอลลาเจนที่อยู่ในรูปของเหลวเกิดการระเหยเพื่อให้เป็นของเหลวที่มีความเข้มข้นประมาณ 50% ก่อนนำไป spray dry ให้เป็นผง ซึ่งผู้ผลิตส่วนใหญ่ต้องทำให้คอลลาเจนเหลวระเหยโดยใช้อุณหภูมิสูงกว่า 110 องศาเซลเซียส จนกว่าคอลลาเจนเหลวจะมีความเข้มข้นตามต้องการ แต่การใช้ความร้อนขนาดนี้เป็นเวลานานจะทำให้โปรตีน และกรดอะมิโนบางตัวสูญสลายไป มารีน คอลลาเจน เปปไทด์ ใช้เทคโนโลยีสุญญากาศในการทำระเหย ซึ่งมีอุณหภูมิเพียง 55 องศาเซลเซียส ในการทำระเหยก่อน spray dry จึงทำให้โปรตีน และกรดอะมิโนไม่มีการสูญเสียเลย
6. ได้รับการรับรองจาก U.S. FDA , ISO 9001-2008 และ HACCP
12 พ.ย. 2562
6 พ.ย. 2565
12 พ.ย. 2562
12 พ.ย. 2562